Category

ข่าวงานวิจัย

โครงการ พัฒนาคุณภาพและการตลาดของผ้าทอนิคมลานข่อยจังหวัดพัทลุง (Premium OTOP)

By | ข่าวงานวิจัย

 

หน่วยงานต้นสังกัด สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

โดย ผศ.ดร.มาหามะสูไฮมี มะแซ

กลุ่มทอผ้านิคมลานข่อย ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับห้าดาว ประเภท ผ้าและเครื่องแต่งกาย ในปี 2552 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งผ้าเป็นปัจจัย 4 ที่ทุกคนใช้สวมใส่ในชีวิตประจำวัน และเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกเพศทุกวัย การส่งออกผ้าฝ้ายของประเทศไทยมีมูลค่าหลายพันล้านบาทต่อปี สำหรับภาคใต้นั้นการทอผ้าจะมีในพื้นที่ที่จำกัด เช่น ผ้าไหมพุมเรียง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผ้านาหมื่นศรี จังหวัดตรัง ผ้าบาติกแถบสามจังหวัดชายแดนใต้และแถบภูเก็ต ผ้าพิมพ์ลายปาเต๊ะจังหวัดกระบี่ ผ้าทอเกาะยอ จังหวัดสงขลา จากที่ได้กล่าวข้างต้นแล้ว นิคมลานข่อยที่มีการทอผ้ายกดอกด้วยกี่กระตุกนั้นตามแบบฉบับภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น แทบจะไม่มีใครได้เห็นในปัจจุบัน หรือแทบจะไม่เคยรู้จักเลยว่าที่จังหวัดพัทลุงนั้นมีการทอผ้ายกดอกที่เป็นเอกลักษณ์อย่างมาก ซึ่งการทอผ้าของนิคมลานข่อยจะมีการทอผ้าแบบลายดอกไม้ ซึ่งมีทั้งหมด 12 ลาย คือ ดอกพะยอมเล็ก ดอกปีบ ดาหลา ระฆังทอง พวงพะยอม แคแสด พลวัตร บัวประดิษฐ์ ศรีพะยอม พะยอมไพล ดอกข่อย แก้วประยุกต์

 

โครงการ การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าปะลางิง เพื่อยกระดับเป็นผลิตภัณฑ์ (Premium OTOP)

By | ข่าวงานวิจัย

หน่วยงานต้นสังกัด สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

หัวหน้าโครงการ โดย อาจารย์พันธ์ยศ วรเชฐวราวัตร์

           กลุ่มศรียะลาบาติก เป็นกลุ่มทำผ้าบาติกที่อนุรักษ์การทำผ้า ปะลางิง ด้วยการทำผ้าบาติกพิมพ์ด้วยบล็อกไม้ โดยออกแบบลวดลายผ้าจากลวดลายตามมัสยิด บ้านเก่า ช่องลมต่างๆ ทำให้เป็นที่รู้จักและแพร่หลายในปัจจุบัน กลุ่มก็จะมีการเผยแพร่ให้กับกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนางาน กลุ่มศรียะลาบาติก มีผลิตภัณฑ์ผ้าผืน เสื้อผ้า ของที่ระลึก ผ้าพันคอ ผ้า คลุ่มไหล่ ผ้าถุง และอื่นๆ ผลิตภัณฑ์ภายใต้ ชื่อกลุ่มศรียะลาบาติกเป็นสินค้าคุณภาพที่เป็นที่พอใจของผู้นิยมผ้าบาติก ด้วยหลักการดำเนินงานดังกล่าว โดยการใช้ผ้าปะลางิงมาแปรรูปเป็นสินค้าตัวใหม่ กระเป๋าถือทำเป็น คอนเลคชั่น 5 ผลิตภัณฑ์ ออกแบบรูปแบบสีสันด้วยเทรนใหม่ ใช้ เทคโนโลยีนาโนพัฒนาผ้าปะลางิงให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ โดยมุ่งเป้าหมายตามนโยบาย Thailand 4.0 ด้วยการพัฒนาสินค้าโอท็อป ด้วยหลักการออกแบบที่ทันสมัยกับปัจจุบัน บวกกับเทคโนโลยีด้วยการทำสิ่งทอนาโททำผ้าปะลางิงสะท้อนน้ำกันเปื้อนสำหรับทำผลติภัณฑ์ และผลิตสินค้าคุณภาพสูงมุ่งเป้ากลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงระดับสูง โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญ ในแต่ละด้านให้คำปรึกษาและพัฒนาสินค้าอย่างเป็นระบบ

 

โครงการการสร้างเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมด้วยการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอนาหมื่นศรี สู่การพัฒนาเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ (Premium OTOP)

By | ข่าวงานวิจัย

 

หน่วยงานต้นสังกัด วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง

โดย  อาจารย์ศุกพิชญาณ์ บุญเกื้อ

ผ้าทอนาหมื่นศรีเป็นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น และ มีชื่อเสียง ของจังหวัดตรัง ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ได้แก่ผ้าตัดชุด ผ้าซิ่น โสร่งผู้ชาย ผ้าขาวม้า ผ้าคลุมไหล่ เสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งสตรีและบุรุษของใช้เบ็ดเตล็ด ได้แก่ ผ้าเช็ดหน้า กระเป๋าเป้ กระเป๋าสตางค์ขนาดเล็ก กระเป๋าใส่มือถือ กล่องใส่ดินสอ เนคไท ร่ม เป็นต้น โดยศิษย์เก่า เป็นลูกหลานของกลุ่มผ้าทอนาหมื่นศรีมีความ สนใจต่อยอดธุรกิจเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ภายใต้ความร่วมมือของชุมชน(Social Enterprise) โดยมีแนวคิดที่จะพัฒนาโดยนานาโนเทคโนโลยีมาเคลือบผ้าทอพื้นเมืองเพิ่มมูลค่าสิ่งทอเพื่อเกิดกระบวนการตกแต่งผ้าให้มีคุณสมบัติที่แตกต่าง อาทิ ลดการยับและเพิ่มความนุ่มนวล ตลอดจนการคืนตัวของผ้าทำให้ ดูแลรักษาง่าย เพิ่มคุณสมบัติสะท้อนน้ำและต้านเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ไม่เหม็นอับและลดความจำเป็นในการซัก รวมไปถึงการเพิ่มกลิ่นหอมและคุณสมบัติหน่วงไฟจะทำให้ผ้ามีคุณสมบัติ เหมาะสมกับงานมากขึ้นและมีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าผ้าทอนาหมื่นศรี ให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

 

โครงการ ออกแบบและผลิต อุปกรณ์สิ่งของใช้ตกแต่ง โดยใช้ผ้าทอพื้นเมืองภาคใต้ (Premium OTOP) หน่วยงานต้นสังกัด สาขาการโรงแรมและท่องเที่ยว

By | ข่าวงานวิจัย

 

คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

โดย อาจารย์สุธรรม มัควัลย์

เป็นส่วนหนึ่งการส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของท้องถิ่นของจังหวัดสงขลา ตรัง และนครศรีธรรมราช ในรูปแบบใหม่แตกต่างจากโครงการอื่นที่ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดยการออกแบบประยุกต์ผ้าทอพื้นเมืองภาคใต้ทำให้มีประโยชน์ใช้สอยและสามารถวางจำหน่ายในร้านขายของที่ระลึกของโรงแรมระดับ 4-5ดาว

 

 

โครงการ “พัฒนาผลิตภัณฑ์ Yala Bird City” (Premium OTOP)

By | ข่าวงานวิจัย

โครงการ “พัฒนาผลิตภัณฑ์ Yala Bird City” (Premium OTOP)

หน่วยงานต้นสังกัด มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมกับ เทศบาลนครยะลาหัวหน้าโครงการ

โดย ผศ.ดร.รุ้งลาวัณย์ จันทรัตนา

จังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นตัวตนสื่อถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่

หนึ่งในวิถีชีวิตของชาวยะลาคือการเลี้ยงนก ทั้งนกเขาชวาเสียงนกกรงหัวจุก มาสร้างเป็นเศรษฐกิจ

เชิงสร้างสรรค์ผ่านการดำเนินโครงการ Yala Bird City โดยการส่งเสริมและต่อยอดธุรกิจ ซึ่งเทศบาลนครยะลา

ได้จัดตั้งกลุ่มพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์จังหวัดชายแดนใต้ ในการส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชนในพื้นที่

พร้อมกับพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่วัตถุดิบและสินค้าท้องถิ่น

เช่น ผลิตภัณฑ์จากกาบกล้วย การใช้ผ้าดิบของท้องถิ่นเป็นผ้าคลุมกรงนก ถุงกล้วย ถุงผ้า และรองเท้า

ซึ่งได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลาและหน่วยงานอื่นๆ ในการส่งเสริมทางด้านวิชาการ

สนับสนุนบุคลากร การรวบรวมองค์ความรู้ การพัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นด้วยดี ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย

ได้มีทางเลือกเพิ่มเติมในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติ มีสไตล์ มีเสน่ห์ และใช้งานได้จริง

เกิดการสร้างรายได้ สร้างอาชีพแก่ประชาชนในท้องถิ่น เกิดผลิตภัณฑ์ที่เป็นมูลค่าเพิ่ม

โดยการใช้ทุนนวัตกรรมท้องถิ่นและสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดยะลา