Category

ข่าวงานวิจัย

“Thailand International Health Expo 2022”

By | กิจกรรม, กิจกรรม/ข่าวสาร, ข่าวงานวิจัย, ข่าวอบรม

เมื่อวันที่ 17-20 มีนาคม 2565 ศูนย์แสดงงานวิจัยและนวัตกรรม (RIEC) ร่วมจัดนิทรรศการ งาน Thailand Innovation Health Expo 2022 สร้างสุขภาพ เสริมเศรษฐกิจ เพื่อคุณภาพชีวิตประชาชน รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน กรุงเทพ ฯ โดยนำผลิตภัณฑ์ประเภทเวชสำอาง ร่วมจัดกับ คณะแพทย์แผนไทย อุทยานวิทย์ ฯ และ เครือโรงพยาบาลเอสเตล่า เวิลด์ ซึ่งภายในงานมีกิจกรรมเสวนา ที่น่าสนใจ อาทิ “ย้อนอายุร่างกาย ให้อ่อนเยาว์กว่าวัย ด้วยศาสตร์การแพทย์แบบองค์รวม” โดย RAKxa Weellness & Medical Retraat และ “การวางแผนดูแลสุขภาพด้วยการถอดรหัสพันธุกรรม” เป็นต้น

การเข้าร่วมจัดแสดงและจำหน่ายสินค้า งานมอบประกาศนียบัตรและปิดการฝึกอบรมหลักสูตร ผู้จัดการโรงแรมที่พักส่งเสริมสุขภาพ รุ่นที่ 1

By | กิจกรรม, กิจกรรม/ข่าวสาร, ข่าวงานวิจัย, ข่าวอบรม

เมื่อวันที่ 7 -8 ตุลาคม 2564 ศูนย์แสดงงานวิจัยและนวัตกรรม (RIEC) ได้เข้าร่วมจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าประเภทสินค้างานวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ ในงานมอบประกาศนียบัตรและปิดการฝึกอบรมหลักสูตร ผู้จัดการโรงแรมที่พักส่งเสริมสุขภาพ รุ่นที่ 1 ณ โรงแรมบียอนด์ รีสอร์ท กะตะ จังหวัดภูเก็ต จัดโดย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ร่วมกับกฎบัตรไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริม ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ซึ่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ นำโดย ผศ.คำรณ พิทักษ์ รักษาการผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ , รศ.ดร.ภาณุพงศ์ พุทธรักษ์ ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายระบบขับเคลื่อนวิจัยและนวัตกรรม รวมถึงคณาจารย์และเจ้าหน้าที่จากสำนักวิจัยและพัฒนา และอุทยานวิทยาศาสตร์ ได้นำผลงานร่วมจัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม โดยมี รศ. ดร.พันธ์ ทองชุมนุม รองอธิการบดีวิทยาเขตภูเก็ต เป็นผู้กล่าวเปิดประชุมการทบทวนสมรรถนะผู้บริหารและแผนธุรกิจ Wellness ภายใต้โครงการพัฒนาอันดามันนวัตกรรมการแพทย์และการส่งเสริมสุขภาพ (The Andaman World Medical & Wellness Hub) ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางแพทย์ครบวงจรให้แก่ประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว ประกอบด้วย 6 ภารกิจหลัก ได้แก่ 1. การจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมทุนในการดำเนินโครงการ 2. การจัดตั้งคลินิกแพทย์แผนไทย 3. การจัดตั้งศูนย์บริการทางการแพทย์ระดับ Premium เพื่อเน้นการบริการทางการแพทย์ครบวงจร 4. ศูนย์ดูแลสุขภาพแนวใหม่ หรือ Wellness Center เน้นการดูแลผู้สูงอายุ การใช้กีฬาบำบัด การแพทย์แผนไทย 5. วิทยาลัยสุขภาพนานาชาติ ประกอบด้วย การสร้างบุคลากรวิชาชีพ รวมถึงการจัดทำหลักสูตรอบรมเพื่อการพัฒนาศักยภาพให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ 6. การนำนวัตกรรมทางการแพทย์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์และสังคม โดยมีโรงแรมระดับห้าดาว นำร่องโครงการดังกล่าว ฯ จำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วย 1) La Flora Khaolak 2) Apsara Beachfront Resort and Villa 3) Graceland Khaolak Beach Resort 4) Ban Khaolak Beach Resort 5) Ramada Khaolak และ 6) Chongfah Resort Khaolak ซึ่งจะมีการขยายผลไปยังโรงแรมที่พักในจังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ และจังหวัดอื่น ๆ ในฝั่งอันดามันต่อไป

PSU Research expo and Innovation Showcase 2022

By | กิจกรรม/ข่าวสาร, ข่าวงานวิจัย, ข่าวอบรม

17 กุมภาพันธ์ 265 ศูนย์แสดงงานวิจัยและนวัตกรรม (RIEC) เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการแสดงสินค้า ภายในงาน PSU Research expo and Innovation Showcase 2022 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งมี รองงศาสตราจารย์พิเศษ ดร. ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ และ โฆษกกระทรวง ผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้กล่าวเปิดการประชุม

 

โครงการติดตามและตรวจเยี่ยมศูนย์สาขาย่อย (Spoke) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

By | กิจกรรม, กิจกรรม/ข่าวสาร, ข่าวงานวิจัย, ข่าวอบรม
ศูนย์นวัตกรรมสร้างสรรค์ เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคใต้ตอนล่าง ภายใต้สำนักวิจัยและพัฒนา โดย ศาสตราจารย์ ดร.ธีระพล ศรีชนะ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา ม.อ.หาดใหญ่ พร้อมด้วยทีมบริหารและบุคลากร เดินทางมาเยี่ยมชมศูนย์สาขาย่อย Spoke Innovation Hub ใณ อาคาร Kid+D@Historic Center ถนนนางงาม จังหวัดสงขลา ในวันที่ 12 ตุลาคม 2563
.
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรพงศ์ บุญช่วยแทน ประธานโครงการจัดตั้งสำนักการจัดการนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี แะ คุณธนัธิดา แก้วหวังสกูล ผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ นำเสนอผลการดำเนินงานพร้อมพาเยี่ยมชมศูนย์ฯ, หอประชุมคณะฯ และห้องจัดแสดงนิทรรศการ 360 องศา
.
จากการพูดคุยหารือกันวันนี้ทางคณะฯ จะดำเนินการนำผลิตภัณฑ์พร้อมด้วยงานสร้างสรรค์พัฒนาไปสู่กระบวนการวิจัยต่อไป

Innovation Hub สร้างมูลค่าสินค้าและบริการชุมชนด้วยความรู้จากงานวิจัย

By | กิจกรรม/ข่าวสาร, ข่าวงานวิจัย

Innovation Hub สร้างมูลค่าสินค้าและบริการชุมชนด้วยความรู้จากงานวิจัย

 

รองศาสตราจารย์ ดร.ประณีต ส่งวัฒนา รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาด้านพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยมีภารกิจ 4 ด้าน คือ ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการ และ ทำนุบำรุงศิลปและวัฒนธรรม แต่โจทย์สำคัญคือการนำภารกิจเหล่านั้นไปเชื่อมโยงกับสังคมเพื่อให้ประสบผลสำเร็จตามพันธกิจมหาวิทยาลัย ซึ่งในด้านการวิจัยนั้น การเชื่อมโยงกับสังคมจะมีอยู่ 2 ส่วนคือ การนำงานวิจัยที่สำเร็จเรียบร้อยแล้วไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ หรือใช้แก้ปัญหาชุมชน สังคม ในมิติต่างๆ แต่อีกส่วนหนึ่งคือการดึงประชาชนและสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการหาโจทย์วิจัย เพื่อตรงตามความต้องการของชุมชน ใช้ประโยชน์ได้จริง และสนับสนุนยุทธศาสตร์ของประเทศ

หน่วยงานหนึ่งที่มหาวิทยาลัยของเราได้จัดตั้งขึ้นเพื่อสนองพันธกิจดังกล่าว คือ ศูนย์นวัตกรรมสร้างสรรค์ เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคใต้ตอนล่าง หรือ Innovation Hub ซึ่งสนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และเครือข่าย 13 สถาบันใน 9 มหาวิทยาลัยในภาคใต้ตอนล่าง เพื่อส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้จากงานวิจัย เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของภาคใต้ตอนล่าง โดยใช้ศักยภาพที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่นด้านต่างๆมาบูรณาการกับการใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอด และใช้เทคโนโลยีแปรผลิตภัณฑ์ให้มีคุณค่า และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าต่างๆ ทั้งในด้านผลผลิตและการบริการ เพื่อสร้างรายได้และอาชีพให้กับชุมชนในพื้นที่ ตลอดจนส่งผลสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตต่อไป

เครือข่ายของศูนย์นวัตกรรมสร้างสรรค์ ของมหาวิทยาลัยในภาคใต้ตอนล่างประกอบด้วย มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาลัยชุมชนนราธิวาส วิทยาลัยชุมชนยะลา วิทยาลัยชุมชนปัตตานี วิทยาลัยชุมชนสงขลา วิทยาลัยชุมชนสตูล รวมทั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยการให้ทุนแก่สถาบันเครือข่ายเพื่อจัดทำโครงการพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ นอกจากนั้นยังมีโครงการเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในธรรมชาติ 5 แห่งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการจัดฝึกอบรมเพิ่มศักยภาพของคนในพื้นที่ให้มีความรู้เรื่อง E-commerce การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ การออกแบบ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ทักษะการจำหน่ายผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ การให้ความรู้เรื่องทรัพย์สินทางปัญญาและลิขสิทธิ์

 

ทั้งนี้ได้จัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าต้นแบบของเครือข่ายทั้งสินค้าผลงานวิจัยที่สร้างจากองค์ความรู้ของนักวิชาการมหาวิทยาลัย งานสร้างสรรค์และสินค้าจากผู้ประกอบการและชุมชน ที่สะท้อนเอกลักษณ์ของพื้นถิ่น ในราคาที่สมเหตุสมผล ในพื้นที่กว่า 100 ตารางเมตรที่ Innovation Hub ชั้น 1 อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ (LRC) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และเปิดสาขาอีก 2 แห่งคือร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เปิดสาขาจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าที่บริเวณถนนนางงาม สงขลา และที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

 

 

 

โครงการ การยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) สู่แหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ (High Value Service)

By | ข่าวงานวิจัย

 

หน่วยงานต้นสังกัด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่หัวหน้าโครงการ

โดย ดร.ปรัชญากรณ์ ไชยคช

การศึกษาศักยภาพด้านสินค้าการท่องเที่ยวโดยชุมชนใน 5 จังหวัดชายแดนาภาคใต้ จำนวน 10 ชุมชน ซึ่งประกอบด้วย บากันใหญ่ ควนโพธิ์ จังหวัดสตูล ตลาดริมน้ำคลองแดน ท่าหิน “วิถีโหนด นา เล” จังหวัดสงขลา บางปู ทรายขาว จังหวัดปัตตานี หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 10 จังหวัดยะลา วัดชลธาราสิงเห และหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 12 จังหวัดนราธิวาส ทำให้ทราบถึงทรัพยากรท่องเที่ยวของชุมชน กระบวนการในการจัดการท่องเที่ยวของชุมชน การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนต่อการจัดการท่องเที่ยว และโอกาสในการส่งเสริมให้ชุมชนเหล่านั้นเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่คุณภาพด้วยโดยอาศัยศักยภาพของชุมชนที่มีอยู่ทั้งในด้านของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาของผู้คน ที่มีความหลากหลายทั้งไทยพุทธ ไทยมุสลิม และคนไทยเชื้อสายจีน

 

         

 

 

โครงการ การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เกษตรเชิงสร้างสรรค์ เพื่อยกระดับชุมชน สวนลุงวร อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา (High Value Service)

By | ข่าวงานวิจัย

 

หน่วยงานต้นสังกัด ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

โดย ผศ.คำรณ  พิทักษ์

 

สวนลุงวร อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการเพาะเลี้ยงกล้าพันธุ์ไม้ และการเกษตรอินทรีย์ มีผลผลิตขายมาอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการทดลองทำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต่างๆ จากผลผลิตของสวนเพื่อใช้เองภายในครอบครัวและเพื่อนบ้าน สนับสนุนและช่วยเหลือปรับปรุง ยกระดับในหลายด้าน สำหรับกิจกรรมหลักที่สวนลุงวรและชาวบ้านในชุมชุนดำเนินอยู่มี2 กิจกรรมหลักๆ ได้แก่ 1. การท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ วิถีชุมชนเป็นการถ่ายทอดความรู้สู่กลุ่มผู้มาเรียนรู้และมาใช้บริการเกี่ยวกับเรื่องการเกษตรอินทีร์แบบครบวงจร ลักษณะกิจกรรมได้แก่ การท่องเที่ยวแบบ One day trip, Camping, Home Stay, กลุ่มศึกษาดูงานเป็นต้นการจัดกิจกรรมเหล่านี้ อาศัยทรัพยากรในชุมชน ปราญช์ชาวบ้าน และความร่วมมือของชุมชนเป็นจุดขาย 2. การแปรรูปผลิตภัณฑ์ของชุมชน 2.1 ผลิตภัณฑ์ของใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ สบู่ แชมพู น้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างจาน แปรรูปมาจากผลิตภัณฑ์อินทรีย์ จากพื้นที่การเกษตรของชุมชน ซึ่งมีแผนจะขอรับรองมาตรฐาน Organic ในอนาคต 2.2 ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับปุ๋ย สารอาหารบำรุงพืชสารป้องกันศัตรูพืชซึ่งผลิตจากจุลินทรีในท้องถิ่นและพัฒนาโดยนักวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

โครงการ พัฒนาคุณภาพและการตลาดของผ้าทอนิคมลานข่อยจังหวัดพัทลุง (Premium OTOP)

By | ข่าวงานวิจัย

 

หน่วยงานต้นสังกัด สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

โดย ผศ.ดร.มาหามะสูไฮมี มะแซ

กลุ่มทอผ้านิคมลานข่อย ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับห้าดาว ประเภท ผ้าและเครื่องแต่งกาย ในปี 2552 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งผ้าเป็นปัจจัย 4 ที่ทุกคนใช้สวมใส่ในชีวิตประจำวัน และเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกเพศทุกวัย การส่งออกผ้าฝ้ายของประเทศไทยมีมูลค่าหลายพันล้านบาทต่อปี สำหรับภาคใต้นั้นการทอผ้าจะมีในพื้นที่ที่จำกัด เช่น ผ้าไหมพุมเรียง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผ้านาหมื่นศรี จังหวัดตรัง ผ้าบาติกแถบสามจังหวัดชายแดนใต้และแถบภูเก็ต ผ้าพิมพ์ลายปาเต๊ะจังหวัดกระบี่ ผ้าทอเกาะยอ จังหวัดสงขลา จากที่ได้กล่าวข้างต้นแล้ว นิคมลานข่อยที่มีการทอผ้ายกดอกด้วยกี่กระตุกนั้นตามแบบฉบับภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น แทบจะไม่มีใครได้เห็นในปัจจุบัน หรือแทบจะไม่เคยรู้จักเลยว่าที่จังหวัดพัทลุงนั้นมีการทอผ้ายกดอกที่เป็นเอกลักษณ์อย่างมาก ซึ่งการทอผ้าของนิคมลานข่อยจะมีการทอผ้าแบบลายดอกไม้ ซึ่งมีทั้งหมด 12 ลาย คือ ดอกพะยอมเล็ก ดอกปีบ ดาหลา ระฆังทอง พวงพะยอม แคแสด พลวัตร บัวประดิษฐ์ ศรีพะยอม พะยอมไพล ดอกข่อย แก้วประยุกต์

 

โครงการ การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าปะลางิง เพื่อยกระดับเป็นผลิตภัณฑ์ (Premium OTOP)

By | ข่าวงานวิจัย

หน่วยงานต้นสังกัด สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

หัวหน้าโครงการ โดย อาจารย์พันธ์ยศ วรเชฐวราวัตร์

           กลุ่มศรียะลาบาติก เป็นกลุ่มทำผ้าบาติกที่อนุรักษ์การทำผ้า ปะลางิง ด้วยการทำผ้าบาติกพิมพ์ด้วยบล็อกไม้ โดยออกแบบลวดลายผ้าจากลวดลายตามมัสยิด บ้านเก่า ช่องลมต่างๆ ทำให้เป็นที่รู้จักและแพร่หลายในปัจจุบัน กลุ่มก็จะมีการเผยแพร่ให้กับกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนางาน กลุ่มศรียะลาบาติก มีผลิตภัณฑ์ผ้าผืน เสื้อผ้า ของที่ระลึก ผ้าพันคอ ผ้า คลุ่มไหล่ ผ้าถุง และอื่นๆ ผลิตภัณฑ์ภายใต้ ชื่อกลุ่มศรียะลาบาติกเป็นสินค้าคุณภาพที่เป็นที่พอใจของผู้นิยมผ้าบาติก ด้วยหลักการดำเนินงานดังกล่าว โดยการใช้ผ้าปะลางิงมาแปรรูปเป็นสินค้าตัวใหม่ กระเป๋าถือทำเป็น คอนเลคชั่น 5 ผลิตภัณฑ์ ออกแบบรูปแบบสีสันด้วยเทรนใหม่ ใช้ เทคโนโลยีนาโนพัฒนาผ้าปะลางิงให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ โดยมุ่งเป้าหมายตามนโยบาย Thailand 4.0 ด้วยการพัฒนาสินค้าโอท็อป ด้วยหลักการออกแบบที่ทันสมัยกับปัจจุบัน บวกกับเทคโนโลยีด้วยการทำสิ่งทอนาโททำผ้าปะลางิงสะท้อนน้ำกันเปื้อนสำหรับทำผลติภัณฑ์ และผลิตสินค้าคุณภาพสูงมุ่งเป้ากลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงระดับสูง โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญ ในแต่ละด้านให้คำปรึกษาและพัฒนาสินค้าอย่างเป็นระบบ

 

โครงการการสร้างเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมด้วยการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอนาหมื่นศรี สู่การพัฒนาเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ (Premium OTOP)

By | ข่าวงานวิจัย

 

หน่วยงานต้นสังกัด วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง

โดย  อาจารย์ศุกพิชญาณ์ บุญเกื้อ

ผ้าทอนาหมื่นศรีเป็นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น และ มีชื่อเสียง ของจังหวัดตรัง ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ได้แก่ผ้าตัดชุด ผ้าซิ่น โสร่งผู้ชาย ผ้าขาวม้า ผ้าคลุมไหล่ เสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งสตรีและบุรุษของใช้เบ็ดเตล็ด ได้แก่ ผ้าเช็ดหน้า กระเป๋าเป้ กระเป๋าสตางค์ขนาดเล็ก กระเป๋าใส่มือถือ กล่องใส่ดินสอ เนคไท ร่ม เป็นต้น โดยศิษย์เก่า เป็นลูกหลานของกลุ่มผ้าทอนาหมื่นศรีมีความ สนใจต่อยอดธุรกิจเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ภายใต้ความร่วมมือของชุมชน(Social Enterprise) โดยมีแนวคิดที่จะพัฒนาโดยนานาโนเทคโนโลยีมาเคลือบผ้าทอพื้นเมืองเพิ่มมูลค่าสิ่งทอเพื่อเกิดกระบวนการตกแต่งผ้าให้มีคุณสมบัติที่แตกต่าง อาทิ ลดการยับและเพิ่มความนุ่มนวล ตลอดจนการคืนตัวของผ้าทำให้ ดูแลรักษาง่าย เพิ่มคุณสมบัติสะท้อนน้ำและต้านเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ไม่เหม็นอับและลดความจำเป็นในการซัก รวมไปถึงการเพิ่มกลิ่นหอมและคุณสมบัติหน่วงไฟจะทำให้ผ้ามีคุณสมบัติ เหมาะสมกับงานมากขึ้นและมีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าผ้าทอนาหมื่นศรี ให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย